นี่เป็นอัลบั้มแรกของไวต์ไลออน สิงโตเผือกผู้ยิ่งใหญ่ที่ปิดฉากชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย (จนถึงตอนนี้มีแต่ข่าวว่าวีโต แบรตตามือกีตาร์คนเก่งป่วยจนออกจากวงการดนตรีไปทำงานด้านอื่นแล้ว) ส่วนฟรีกออฟเนเจอร์ของไมก์ แทรมป์ นักร้องนำก็ไม่ค่อยรุ่งจนต้องยุบวงไปหลังจากทำอัลบั้มได้สามชุด
ได้ฟัง ไฟต์ทูเซอไวฟ์ หลังจากฟังไวต์ไลออนไปสามอัลบั้ม ไพรด์ บิ๊กเกม เมนแอตแทรกชัน ล้วนแล้วแต่มีจุดเด่นในตัวเอง โดยเฉพาะไพรด์กับบิ๊กเกม เป็นผลงานชั้นเลิศในแวดวงป็อปเมทัลทศวรรษ 1980
ควรทราบว่า ไฟต์ทูเซอไวฟ์ เป็นผลงานที่ไวต์ไลออนทำสมัยเซ็นสัญญากับบริษัทอีเล็กตรา ตอนนั้นนอกจากไมก์กับวีโตก็มีนิกกี คาพอสซีเป็นมือกลอง เฟลิกซ์ โรบินสันเป็นมือเบส อัลบั้มนี้ควรจะออกวางจำหน่ายปีค.ศ. 1984 แต่บริษัทอีเล็กตราไม่พอใจอัลบั้มนี้เลยดองเอาไว้และในที่สุดก็ยกเลิกสัญญา ต่อมาบริษัทแกรนสแลมซื้ออัลบั้มนี้จากอีเล็กตรามาจำหนายต่อ
ดังนั้นก่อนฟังอัลบั้ม ไฟต์ทูเซอไวฟ์ จึงมีอะไรในใจพอสมควร อัลบ้มจากวงที่เคยทำอัลบั้มถูกใจ แต่ทำไมถึงโดนบริษัทดองไว้ไม่ยอมวางจำหน่าย
ผิดหวัง หรือ ไม่ผิดหวัง ?
พอเพลงแรก “โบรกเคนฮาร์ต” ซึ่งเคยฟังจากอัลบั้ม เมนแอตแทรกชัน มาก่อนแล้ว และชอบเวอร์ชันที่อยู่ใน เมนแอตแทรกชัน มากกว่า ดนตรียังธรรมดาเกินไปสำหรับไวต์ไลออนที่คุ้นเคย แทบไม่มีอะไรแตกต่างจากวงแกลมเมทัลกลางทศวรรษ 1980 ที่มีให้ฟังกันดาษดื่น แต่พอเข้าเพลงต่อมา “เชอโรกี” ชื่อนี้เกี่ยวพันกับชนพื้นเมืองอเมริกาแน่นอน ดนตรีหนักแน่นดูมีเอกลักษณ์ของตัวเองมากขึ้น
เสียงร้องของไมก์ที่ไม่ค่อยชอบมาแต่ไหนแต่ไรก็ยังให้ความรู้สึกไม่ค่อยชอบวิธีการร้องและการใช้เสียงอยู่เหมือนเดิม แต่นี่คือเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์มาก ออกแนวคร่ำครวญถ้าใช้ให้เหมาะสม อย่างเช่น “เวนเดอะชิลเดรนคราย” หรือว่า “ลิตเติลไฟต์เตอร์” จะออกมาดีงามสมกับเป็นวงป็อปเมทัลชั้นเยี่ยม แต่พอมาฟังในอัลบั้มนี้มันยิ่งเติมความหม่นเศร้าโทนมืดให้กับบทเพลงเข้าไปอีก
ฟังเสียงร้องในอัลบั้มนี้แล้วรู้สึกเหนื่อย ๆ หน่วง ๆ และเนือย ๆ ยิ่งเมื่อรวมเข้ากับโทนที่ฟังรกด้วยแล้วยิ่งเสริมไปอีก “ไฟต์ทูเซอไวฟ์” เพลงเด่นอีกเพลงก็ออกโทนช้าหนักหน่วง พอจะเป็นเมทัลที่ไม่เน้นเพลงเร็ว เนื้อหาจริงจังเคร่งเครียด มีแต่ความหดหู่ สิ้นหวัง การทำลายล้าง
จึงไม่แปลกใจที่บริษัทอิเล็กตราจะแขวนอัลบั้มนี้ไว้ไม่ปล่อยวางจำหน่าย
ดนตรีใน ไฟต์ทูเซอไวฟ์ ออกจะใกล้เคียงกับเมนแอตแทรกชันมากกว่าในด้านดนตรี คือเป็นเฮฟวีเมทัลที่หนักแน่นขึ้นมา แต่ท่วงทำนองและการเรียบเรียงเครื่องดนตรียังรก ไม่สะอาดอย่างไพร์ดและบิ๊กเกมเมื่อผสมกับเบสและกลองที่เล่นแบบ “พอผ่าน” ทำให้อัลบั้มนี้ออกจะไม่รื่นหูบ้าง
แต่สำหรับแฟนเพลงไวต์ไลออนแต่ดั้งเดิมอัลบั้มนี้ไม่แย่ เข้าขั้นดีด้วย อย่างเช่นริฟฟ์และโซโลฝีมือวีโตยังยอดเยี่ยมเห็นแววมาตั้งแต่นั้นแล้วว่าน่าจะเป็นมือกีตาร์ดาวรุ่งพุ่งแรง มีเทคนิคและทักษะเหนือกว่ามือกีตาร์รุ่นราวคราวเดียวกันหลายคน อย่างเช่นอินโทร “เอลซัลวาดอร์” เป็นเสียงกีตาร์ฟลาเมนโกแล้วก็มีเสียงกีตาร์ไฟฟ้าสวนขึ้นมา อันนี้มันเรื่องของรสนิยมหรือสไตล์ส่วนบุคคลว่าจะคิดสร้างสรรค์อะไร ซึ่งวีโตอยู่ในระดับแนวหน้าแน่นอน
Musician
- Mike Tramp – Vocals
- Vito Bratta – Guitars
- Felix Robinson – Bass, Keyboards
- Nicky Capozzi – Drums
- Harry Baierl – Piano
- Roderiich Gold – Keyboards
Track listing
All Songs Written By Mike Tramp & Vito Bratta, except where noted.
- “Broken Heart” – 3:33
- “Cherokee” – 4:56
- “Fight to Survive” – 5:14 (Tramp, Bratta, Nicky Capozzi)
- “Where Do We Run” – 3:29 (Tramp, Bratta, Felix Robinson)
- “In the City” – 4:39 (Tramp, Bratta, Capozzi, Robinson)
- “All the Fallen Men” – 4:53
- “All Burn in Hell” – 4:21 (Tramp, Bratta, Capozzi)
- “Kid of 1000 Faces” – 4:02 (Tramp, Bratta, Capozzi, Robinson)
- “El Salvador” – 4:49
- “The Road to Valhalla” – 4:30
4 ความเห็นบน “White Lion: Flight to Survive”