สำหรับความโหดหนักหน่วงของสเลเยอร์คงไม่ต้องอธิบายอะไรให้มากความ เพราะว่าเสียงที่กระแทกโสตประสาทมันเป็นเครื่องยืนยันความหนักหนาสาหัสสากรรจ์ของสเลเยอร์ได้เป็นอย่างดี และในนิตยสารกีตาร์เวิร์ล ฉบับ มกราคม 2005 ก็มีท่อนริฟฟ์เด่นๆ ของสเลเยอร์อธิบายโดยเคอรี คิงเองเลย
เท่าที่ลองสังเหตุจะเห็นว่าการเล่นริฟฟ์มีลักษณะของดนตรีเมทัลยุค NWOBHM อยู่ค่อนข้างมาก นี่คือลักษณะของ old school คือจะไม่ค่อยเน้นที่ rest note จะมีการดำเนินริธึ่มที่ควบตะบึงไปข้างหน้า ลองดูที่ท่อนริฟฟ์เพลงของ Slayer ในสมัยแรกๆ เพื่อเป็นตัวอย่าง
“Chemical Warfare”
[Haunting the Cahpel EP, 1984]
Figure 1 – Intro Riff (0:00)
Fast [Quarter = 200 beats per minute]

ใน Figure 1 อาศัยพื้นฐานจากเทคนิค palm-muting ธรรมดาที่สาย E ต่ำ (สายหก) จุดเด่นของริฟฟ์นี้คือความเร็วของเพลง กับการควบคุมเสียงให้มันสะอาด แต่ที่น่าสนใจก็คือทิศทางการลงปิ๊ก คือในบาร์แรกเป็น 8th note rhythm ก็จะเล่นดีดลงอย่างเดียว ซึ่งมันจะลงกับจังหวะ ส่วนอีกบาร์จะเล่นทั้งดีดลงและดีดขึ้น โดยให้สังเกตว่าการดีดลง ยังอยู่ในbeat เดิมอยู่
Figure 2 – Veres Riff (0:21)
Fast [Quarter = 212 beats per minute]
Figure 2 ซึ่งเป็นท่อน verse ก็เล่นเป็น 16th note rhythm ที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน เพียงแต่อาศัยสัดส่วนโน้ตมาสร้างความน่าสนใจเท่านั้น คิงให้ความเห็นประกอบว่า เพลงในยุคนี้เป็นยุคที่เขาฟังวงอย่าง Venom ค่อนข้างมาก และเจ๊ฟฟ์มักจะเล่นปิ๊คโดยการขยับจากข้อศอก แต่เขาจะขยับแต่ข้อมือ ซึ่งมันให้เสียงการกระแทกริฟฟ์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย และท่อนนี้จะเร่งความเร็วเพิ่มจากช่วงอินโทร
“Raining Blood”
[Reign in Blood, 1986]
Intro Riff
Figure 3 – Intro Riff: the Backward gallop” riff
Fast [Quarter note = 179 beats per minute]
การเล่นใน “Raining Blood” จะอาศัยวิธีที่เรียกว่า gallop กับ backward gallop ง่ายๆ ดูตาม figure 3 การเล่นส่วนโน้ตระหว่าง 8th – note กับ 16th – note เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ ในงานของ Slayer การเล่นแบบนี้มันง่ายๆ แต่ได้อารมณ์ในการเล่นและได้รับปฎิกิริยาจากคนดูกลับมาทุกครั้ง
หมายเหตุ: เสียงกีต้าร์ที่ Slayer เล่นจริง จะตั้งสายกีต้าร์ต่ำกว่าปกติ ครึ่งเสียง: Eb Ab Db Gb Bb Eb