ทุกวันนี้สมาชิกยุครุ่งเรืองของซินเดอเรลลายังออกทัวร์ด้วยกัน แต่แผนการทำอัลบั้มใหม่ยังไม่มีการติดต่อจากบริษัท เห็นสภาพของพวกเขาที่หาบริษัทเซ็นสัญญาทำงานชุดใหม่ไม่ได้นี่มันสะท้อนใจมากเอาการ เพราะซินเดอเรลลาเป็นหนึ่งในวงแกล็มเมทัลที่เคยคาดกันว่าน่าจะมีอนาคตมากที่สุด แต่แล้วพวกเขาก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับวงแกล็ม/แฮร์แบนด์ ส่วนใหญ่ที่ต้องอยู่อย่างเอาตัวรอดไปแบบไม่ค่อยโสภาในปัจจุบัน
งามรวมเพลงชุดนี้วางเพลงตามลำดับการออกมาในอดีต เริ่มจาก ไนท์ซองคส์ (3 เพลง) ที่เคยสร้างชื่อเสียงให้พวกเขา ต่อด้วยลองโคลวินเทอร์ (7 เพลง) ที่ผสมบลูส์เข้ากับเมทัลอย่างได้อารมณ์ จนกลายเป็นการเน้นบลูส์มากขึ้นในฮาร์ตเบรกสเตชัน (4 เพลง) ก่อนที่พยายามเรียกศรัทธาจากแฟนเพลงด้วยงานชุดสติลไคล์มบิง (2 เพลง) อันเงียบเหงา
การฟังเพลงของพวกเขาในงานชุดนี้ ก็เลยเหมือนกับการย้อนเวลากลับไปพิจารณางานในอดีตของพวกเขาทีละชุด เริ่มด้วยเพลง “ไนท์ซองคส์” ที่มาในแบบเมทัลเต็มตัวจากวงดนตรีที่ได้ชื่อว่าเป็นเด็กในอุปถัมภ์ของ จอน บอง โจวีถึงแม้ว่างานชุดแรก “ไนท์ซองคส์” จะโดนครหาว่าได้รับอิทธิพลจากเอซี/ดีซีมามากไปหน่อย ยิ่งเมื่อฟังเพลง “เชคมี” ด้วยแล้วยิ่งทำให้คิดไปถึงเอซี/ดีซีทั้งการเล่นริฟฟ์และการแหกปากร้องของทอมทำให้คิดถึง เอซี/ดีซี อย่างยากที่จะบอกว่ามันเป็นแค่ความบังเอิญ แต่เสียงร้องอันสากระคายหูของทอมเป็นจุดเด่นที่ต้องยอมรับว่าเนื้อเสียงของเขาเป็นแบบนี้เอง จะให้ทำอย่างไรได้
แต่เมื่องานชุดลองโคลวินทอร์ คิดว่าซิลเดอเรลลาได้พิสูจน์ตัวเองอย่างปราศจากข้อกังขาแล้วว่าพวกเขาก็มีดีในตัวเองเหมือนกัน “แบดซีมสเตรสบลูส์/ฟอลลิงอะพาร์ทแอ็ทเดอะซีมส์” ก็เป็นตัวอย่างของการรับอิทธิพลทางดนตรีบลูส์ที่เอามาเล่นกันแรงแบบเมทัลซึ่งในงานรวมเพลงชุดนี้ดูเหมือนว่าจะเอาเพลงจากงานชุดนี้มามากเป็นพิเศษ (เกือบครบอัลบั้มนะนั่น) แต่ก็ดีเหมือนกันเพราะว่าบทเพลงในงานชุดนี้ถือว่าเป็นงานลงตัวชุดหนึ่งของวงการแฮร์เมทัลที่มีสาระสำคัญทางดนตรีเข้มข้น และดูเหมือนว่าทอมจะพาพรรคพวกกลับไปในยุค 70 ค่อนข้างมาก แต่ว่ามีการปรับใช้เสียงร่วมสมัยได้อย่างน่าฟัง
และเมื่อมาถึงงานชุดฮาร์ตเบรกสเตชันที่สร้างงานได้ดีจนได้รับคำชมเชยมากมาย ก็จะได้เห็นการเอาดนตรีบลูส์ คันทรีเข้ามาปรับใช้มากขึ้น ดนตรีทำได้ละเมียดมากขึ้น “เชลเตอร์มี” อาจจะยังคงให้ความรู้สึกแบบงานสองชุดแรกอยู่บ้าง แต่ว่ามันเป็นร็อกแอนด์โรลมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ส่วน“ฮาร์ตเบรกสเตชัน” ก็เป็นเพลงที่ให้อารมณ์เสร้าได้เต็มที่เหมือนกัน
สำหรับคนที่ไม่เคยฟังแกล็ม/แฮร์เมทัลมาก่อน อยากจะแนะนำให้รู้จักกับงานชุดนี้จริง ๆ ยิ่งถ้าใครชอบดนตรีเมทัลที่มีกลิ่นอายบลูส์อบอวลไปทั่ว อยากจะบอกว่าซินเดอเรลลาคือวงดนตรีที่เล่นในแนวนี้ได้อย่างถึงพริกถึงขิงมากที่สุดคณะหนึ่ง จะบอกว่าพวกเขาเป็นมือหนึ่งด้านนี้ในทศวรรษ 80 ก็ได้
Track Listing:-
- “Night Songs” – 4:12
- “Shake Me” – 3:44
- “Nobody’s Fool” – 4:47
- “Somebody Save Me” – 3:16
- “Bad Seamstress Blues / Fallin’ Apart At The Seams” – 5:21
- “Gypsy Road” – 4:01
- “Don’t Know What You Got (Till It’s Gone)” – 5:54
- “The Last Mile” – 3:51
- “Long Cold Winter” – 5:21
- “If You Don’t Like It” – 4:14
- “Coming Home” – 4:54
- “The More Things Change” – 4:21
- “Shelter Me” – 4:47
- “Heartbreak Station” – 4:28
- “Winds Of Change” – 5:34
- “Blood From A Stone” – 4:50
- “Hot And Bothered” – 3:56
One thought on “Cinderella: Rocked, Wired & Bluesed: the Greatest Hits”