ไม่น่าเชื่อว่ากรุงเทพฯ จะมีหน้าหนาว ไม่น่าเชื่อว่าจะได้สัมผัสอุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส รู้สึกถึงความเย็นชำแรกเสื้อผ้าอาภรณ์สัมผัสร่างกายแล้วรื่นรมย์ยากจะหาบรรยากาศอื่นมาเทียบเคียง และเพียงแค่เดินทางออกจากกรุงเทพไม่กี่ชั่วโมงไปสู่วังน้ำเขียว ก็ได้พบความหนาวเหน็บจนแสบไปถึงกระดูกที่การก่อกองไฟไม่ช่วยอะไร
นั่งห่มผ้าหนาเตอะ ตัวสั่นงันงก
ความจริงชอบความหนาวเย็น ยะเยือก ยิ่งถ้าทัศนียภาพที่มีแต่หิมะปกคลุมอยู่จะยิ่งชอบ ดูมันเย็นชา ไร้จิตใจเต็มไปด้วยความสง่างาม ลึกลับและน่าหวั่นเกรง ทั้งหมดนี้ประทับใจมาตั้งแต่เมื่อได้ดูภาพยนตร์ เดดเพทโซไซตี้ (Dead Poet Society) ที่มีฉากเด็กหนุ่มเสียชีวิตกลางหิมะขาวโพลน
ความหนาวเย็นโหดร้ายของฤดูหนาวมีเสน่ห์เช่นนี้เอง!
ด้วยความไม่คุ้นเคยกับอากาศหนาว พอเจอความเย็นแค่ 13 – 15 องศาเซลเซียสยังเป็นหวัด ลมพัดประทบผิวกายแต่ละครั้งประดุจดังห่าเข็มน้ำแข็งนับหมื่นเล่มทิ่มแทงร่างกาย คิดคำบรรยายความรู้สึกได้เพียงแค่ “มันเหน็บหนาวเสียจนหัวนมชูชัน…”
บรรยากาศแบบนี้ นึกถึงอัลบั้มลอง โคล วินเทอร์ (Long Cold Winter) ทุกที
ชอบอัลบั้มนี้มาตั้งแต่ออก (ค.ศ. 1988) มาจนถึงตอนนี้ นี่คืออัลบั้มระดับมาสเตอร์พีซของซินเดอเรลลาที่วงอื่นเลียนแบบไม่ได้
สมัยออกอัลบั้มแรก ไนท์ ซองคส์ โดนครหาว่าลอกสไตล์ของวงรุ่นพี่อย่างเอซี/ดีซีมาใช้จนไม่มีอะไรเป็นของตัวเอง ต้องยอมรับว่าทอม คีเฟอร์ นักร้องนำหน้าสวยปากห้อยย้อยน่าจูบคนนี้รับอิทธิพลจากฮาร์ดร็อกรุ่นพี่มาเยอะ บวกกับการทำเพลงตอนแรกคงมีเป้าหมายในใจกับอิทธิพลทางดนตรีที่ได้รับมาจนติดกับดักวังวนดนตรีไปบ้าง
แต่ในลอง โคล วินเทอร์เริ่มจับทางบลูส์มากขึ้นกว่าเดิม ละทิ้งแนวทางแกลมร็อกไปบ้างแต่ก็ยังมีแทรกอยู่ เพียงแค่เปิดอัลบั้มมา เสียงกีตาร์สไตล์บลูส์เคล้าเสียงฮาร์โมนิกาในเพลง “แบด ซิมสเตส บลูส์/ฟอลลิง อะพาร์ท แอ็ท เดอะ ซีมส์” ทำให้เหงาบาดใจ แต่พวกเขาไม่ปล่อยให้เหงานาน เสียงริฟฟ์ร้อนแรงกระแทกใส่หูคนฟัง เสียงร้องของทอมที่สากระคายหูอยู่แล้ว ยิ่งช่วยสร้างความมันส์ให้กับเพลงไปได้อีก
ลอง โคล วินเทอร์ไม่ใช่คอนเซ็ปต์อัลบั้ม แต่การเดินทางจากเพลงแรกสู่เพลงสุดท้ายล้วนเป็นความเดียวดาย
Lookin’ on back when I was young
I tried to sing it, but my song had been sung
And now I ain’t got no worries
Ain’t got no one to call my own
-Bad Seamstress Blues-
และ
My heart’s like a wheel
And my head’s just a stone
I got my memories
Ain’t got no home
-Fallin’ Apart At The Seams-
สำหรับคนจร… ที่เดินทางไปเรื่อย บางทีคำว่า “บ้าน” สร้างความเศร้าใจได้เหมือนกัน
My gypsy road can’t take me home
I drive all night just to see the light
My gypsy road can’t take me home
I keep on pushin’ cause it feels alright
-Gypsy Road-
I got a long way to go before I reach the light of day
Monkies on my back I gotta find a better way
Same old story never get just what you want
The more you got the more you want
Sometimes you do and then you don’t
I guess I’ve always been a travelin’ man
Cause when I’m movin’ I can make a stand
- The Last Mile-
ซิลเดอเรลลาพาคนฟังผ่านเส้นทางที่เงียบเหงาเหน็บหนาว แต่ไม่วายปากแข็งว่ามันก็ไม่เป็นไรหรอก ยังมีอะไรดี ๆ ในชีวิตให้เก็บเกี่ยวอยู่เสมอ ได้ออกไปเจอประสบการณ์มากมาย และถึงพลาดพลั้งลงไปบ้าง มันก็ยังมีทางแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างใน “เซคัล วินด์”
My second wind gets me strong
I’m right back where I belong
My second wind I can’t go wrong
I take what’s mine then I move along
-Second Wind-
แต่สุดท้าย สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คือสถานที่สักแห่งที่เราจะพำนักได้อย่างวางใจ
Take me back
Cause I need to be reminded
What I left behind me So far away
Take me back
Cause I need to feel the fire
Yesterday’s desire Ain’t far away
-Take Me Back-
และกลับสู่บ้าน
บ้านที่ไม่ได้หมายถึงสิ่งปลูกสร้าง หากหมายถึงที่ซึ่งความรักอบอวลอยู่
I’m coming home
Where your love tonight can shine on me
I’m coming home
Where your lovin’ arms can set me free
-Coming Home-
และสุดท้าย นิทาน เอ๊ย อัลบั้มนี้บอกเราว่าบางครั้งเราไม่รู้ว่าตัวเองมีอะไร จนกระทั่งสูญเสียมันไปแล้ว
Don’t know what you got till it’s gone
Don’t know what it is I did so wrong
Now I know what I got
It’s just this song
And it ain’t easy to get back
Takes so long
-Don’t Know What You Got (Till It Gone)-
การเดินทางผ่านชีวิตมันจะทำให้เจออะไรได้มากมายหลายอย่าง ทั้งเรื่องดีและร้าย มันเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ทางลัดให้ไม่ได้ เราอาจเคยอ่านเรื่องราวของคนอื่นและคิดว่าเข้าใจ แต่ไม่มีทางจะเข้าใจความรู้สึกได้ถ่องแท้จนกว่าจะได้ประสบกับตัวเอง
ถึงแม้ว่าสำเนียงเพลงออกบลูส์ร็อกชัดเจน แต่ก็ยังมีสไตล์ฮาร์ดร็อค / แกล็มเมทัล / ป็อปเมทัล ตามรอยเดิมที่เคยทำไว้ใน ไนท์ซองคส์ การใช้เสียงของทอม คีเฟอร์ควบคุมได้ดีกว่างานชุดแรกมาก คือไม่เอาแต่แหกปากแผดเสียงอย่างเดียว ขณะเดียวกันก็รู้ว่าการแผดเสียงของเขามันสร้างอารมณ์ให้กับเพลงได้เป็นพิเศษ อย่างในบัลลาดสุดฮิต “ดอนท์ โนว์ วอต ยู ก็อต (ทิล อิต กอน) เป็นตัวอย่างที่ดี การใส่ดนตรีคันทรีเจือจางใน “คัมมิง โฮม” แล้วการสลับเสียงร้องโทนต่ำสลับแผดเสียงสูงพร่าก็สร้างสัมผัสของเพลงได้อารมณ์งดงามโดดเด่นมีสไตล์
อัลบั้มนี้มีอายุเกินสองทศวรรษ แต่ก็เป็นอัลบั้มที่หยิบมาฟังตลอด ตั้งแต่เป็นเทปจนกลายเป็นซีดี (ปัจจุบันก็เป็นซีดีแผ่นที่สองแล้ว) เป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ชอบมากเป็นพิเศษ
Artist: Cinderella
Title: Long Cold Winter
Released: July 5, 1988
Genre: Hard rock, blues-rock
Length: 43:51
Label: Mercury
Producer: Andy Johns
Track listing
All songs are written by Tom Keifer, except for “If You Don’t Like It”, which is split between him and Eric Brittingham.
- “Bad Seamstress Blues/Fallin’ Apart at the Seams” – 5:19
- “Gypsy Road” – 3:55
- “Don’t Know What You Got (Till It’s Gone)” – 5:54
- “The Last Mile” – 3:51
- “Second Wind” – 3:59
- “Long Cold Winter” – 5:24
- “If You Don’t Like It” – 4:10
- “Coming Home” – 4:56
- “Fire and Ice” – 3:22
- “Take Me Back” – 3:17
2 ความเห็นบน “Cinderella: Long Cold Winter”