คนที่ฟังเพลงเมทัลในยุค 80 คงจะพอจำชื่อวงคิงดอมคัมได้บ้าง สมัยที่ออกอัลบั้มแรกในปีค.ศ. 1988 ได้รับคำชื่นชมแกมถากถางพอสมควรเพราะซาวนด์ดันไปรับอิทธิพลของเล็ดเซ็พพลินเต็ม ๆ ยอดขายอัลบั้มแรกขายไปได้เป็นล้านแผ่นในสหรัฐฯ แต่ว่าหลังจากนั้นความนิยมก็ตกวูบลงอย่างรวดเร็ว
แม็กนิไฟด์เป็นผลงานลำดับที่ 11 ของวงคิงดอมคัมซึ่งหลัง ๆ แทบจะเป็นงานเดี่ยวของเลนนี วูล์ฟ ไปแล้วเพราะตั้งแต่อัลบั้มอินดิเพนเดนต์ (2002) เขาเล่นเองทำเองคนเดียว คนอื่นเป็นแขกรับเชิญมาเล่นนิด ๆ หน่อย ๆ แถมเปลี่ยนสังกัดเป็นว่าเล่น เปลี่ยนนักดนตรีร่วมวงไปไม่รู้กี่คน
ดนตรีของคิงดอมคัมช่วงหลังไม่ได้วางโครงสร้างเพลงไว้กับท่อนริฟฟ์อย่างในอัลบั้มแรก จริง ๆ ก็มีท่อนริฟฟ์อยู่นะ เพียงแต่ว่ามันไม่ค่อยเหมือนเดิม คือติดซาวนด์แบบใหม่เข้าไปค่อนข้างมาก เสียงร้องของเลนนี ยังคงเยี่ยมเหมือนเดิม
พอฟังอัลบั้มไปหลายรอบชอบมากกว่าฟังครั้งแรก ๆ เพลงก็ติดหูได้เอง เพราะโดยเนื้อแท้ของเลนนี ยังคงอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่การเรียบเรียงดนตรีให้มันออกมาต่างไปจาก 20 ปีที่แล้วเท่านั้นเอง คือถ้ามองไปลึกๆ แล้ว อิทธิพลของเล็ดเซพพลินยังเต็มเปี่ยม เพียงแต่เขาใช้ซาวนด์อินดัสเทรียลมากลบเกลื่อน แล้วก็เหมือนอัลบั้มในช่วงหลังของคิงดอมคัม นั่นคืออยู่ในสายเอโออาร์มากกว่าจะเน้นความหนักหน่วงของเฮฟวีเมทัล เสียงร้องของเลนนียังคงเป็นจุดสนใจที่ยังเชื่อถือได้ (และมีกลิ่นอายของโรเบิร์ต แพลนต์เหมือนเดิม แต่มันเป็นเพราะช่วงเสียงร้องของเขาออกมาแบบนั้นเองด้วย)
การเปิดอัลบั้มด้วยเสียงกลอง (ที่ผ่านการสังเคราะห์มาแล้ว) ตามด้วยไลน์กีตาร์ที่ให้สำเนียงเก่า ๆ แบบร็อกโบราณ แต่ว่าผสมกับไลน์ให้เสียงที่แปลกหู แล้วก็ตัดเข้าสำเนียงป็อปกับท่อนคอรัสที่ติดหู แต่ว่าเพิ่มความหนักหน่วงด้วยเสียงกีตาร์ที่หนาแน่นแตกพร่า (ไม่งั้นคงไม่สมชื่อเพลง “ลิฟวิงไดนาไมต์”)
มันเป็นทริกที่จะทำให้เพลงมีความเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันในแต่ละเพลง ซึ่งการเรียบเรียงและการเลือกวางโครงสร้างเพลงที่ยอดเยี่ยมมันช่วยได้มาก อย่าง “24 อาวร์ส” ถ้าถอดเครื่องดนตรีต่าง ๆ ออกไป เพลงนี้อาจจะเป็นเพียงแค่เพลงบัลลาด (หรืออาจจะเป็นเพาเวอร์บัลลาด) แต่การเรียงเรียงเพลงและการเลือกใช้ซาวนด์คีย์บอร์ดทำให้เพลงออกมาดูดีและน่าฟัง คือจากตอนต้นที่ฟังแล้วนึกถึงเดอะเคียวในช่วงกลาง 80 พอเบรกด้วยเสียงเครื่องสาย อารมณ์มันเปลี่ยนไปเป็นนุ่มลง เพลงบัลลาด “อันไรต์เทนแลงเควจ” ไม่ถึงกับจะบาดใจ แต่ก็เอาตัวรอดไปได้ด้วยดีด้วยท่วงทำนองที่รื่นหู
ถ้าจะให้สรุป ก็คงต้องบอกว่าอัลบั้มนี้เป็นร็อกที่น่าฟัง การผสมพวกลูปกับเสียงสังเคราะห์ ซินธ์ และแซมปลิงต่างๆ บนพื้นฐานของเพลงร็อกปลายยุค 80 (ที่โดดเด่นมากในเพลง “เฮ มามา”)