Billy Idol: Kings and Queens of the Underground
รู้จักอดีตบิลลี ไอดอลจากเพลงคิงส์แอนด์ควีนส์ออฟดิอันเดอร์กราวน์ด
เพลง “คิงส์แอนด์ควีนออฟดิอันเดอร์กราวน์ด” เล่าประวัติอันรุ่งเรืองของบิลลี ไอดอลแบบย่นย่อ
Born in a time
That wasn’t made to last
In 1977 – it went fast
ปีค.ศ. 1977 คือพังก์ศักราชที่ 1
พังก์ (อังกฤษ) เริ่มต้นที่ศูนย์ในปีค.ศ. 1976 และล่มสลายในอีก 18 เดือนต่อมา (เขียนแบบนี้ควรมีคนอ่านออกมาปฏิเสธว่ามันไม่เป็นความจริง พังก์ยังไม่ตาย)
ช่วงเวลาที่พังก์อังกฤษกำเนิดขึ้นมา บิลลี ไอดอลกับโทนี เจมส์ออกจากวงเชลซีมาตั้งวงเจเนอเรชันเอ็กซ์ และป็นวงดนตรีรุ่นเดียวกับเซ็กซ์พิสทอลส์และเดอะแดมน์ด (และอีกหลายวง) แต่ในขณะที่วงพังก์อื่นเน้นความเรียบง่ายดิบแรง เจเนอเรชันเอ็กซ์กลับนำดนตรีบริติชร็อกยุค 60 มาเล่น โดยบิลลีให้คำจำกัดความภายหลังว่าเขาต้องการ “พังก์ร็อกแอนด์โรล” ไม่ใช่แค่พังก์ร็อกอย่างวงร่วมรุ่นเดียวกัน
Johnny told us to rise
Not to give a shit
จอห์นนีในที่นี้ น่าจะเป็นจอห์นนี ร็อทเทน นักร้องนำวงเซ็กซ์พิสทอลส์กระบอกเสียงของชาวพังก์ในยุคนั้น ทำอะไรหลายอย่างที่ช่วยให้พังก์ยังเป็นที่จดจำมาถึงทุกวันนี้
And then “Kiss Me Deadly”
And we had a hit
วงเจเนอเรชันเอ็กซ์ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็มีอะไรน่าจดจำหลายอย่าง เช่น เป็นพังก์วงแรกที่ได้ออกรายการท็อปออฟเดอะป็อปของสถานีโทรทัศน์บีบีซี เป็นวงพังก์วงแรกที่ได้เล่นที่คลับเดอะร็อกซี ในลอนดอน ทั้งสองเรื่องเป็นผลงานของแอนดรู โซว์สกี ผู้จัดการวง (ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งคลับเดอะร็อกซีด้วย)
คิสมีเดดลี เป็นอัลบั้มลำดับที่ 3 ของเจเนอเรชันเอ็กซ์ ซึ่งในเวลานั้นใช้ชื่อวงสั้น ๆ ว่า เจนเอ็กซ์ อัลบั้มนี้เดิมจะใช้ชื่อว่า สวีทรีเวนจ์ (Sweet Revenge) แต่ระหว่างบันทึกเสียงเกิดปัญหาภายในเรื่องทิศทางดนตรี บ็อบ แอนดรูกับมาร์ค ลาฟฟ์จึงลาออกจากวงไปก่อนเนื่องจากความเห็นในเรื่องดนตรีไม่ตรงกัน เหลือเพียงบิลลี ไอดอลกับโทนี เจมส์สองคนเลยเปลี่ยนชื่อวง
เพลง “แดนซิง วิธ มายเซลฟ์” จากอัลบั้ม คิสมีเดดลี พอจะเป็นเพลงฮิตอยู่บ้าง เพลงนี้ บันทึกไว้ตั้งแต่ตอนทำอัลบั้ม สวีทรีเวนจ์ สมัยเป็นเจเนอเรชันเอ็กซ์) และนำมาขัดเกลาใหม่อยู่ในอัลบั้ม คิสมีเดดลี
เพลง “แดนซิง วิธ มายเซลฟ์” สมัยเป็นเจเนอเรชันเอ็กซ์
เพลง ““แดนซิง วิธ มายเซลฟ์” จาก Kiss Me Deadly
Last night in the Roxy
We made love on the floor
We shot up in the bathroom
And said we were bored
If you are here tonight
And you hear these sounds
We are still kings & queens of the underground
I don’t mean to be profound
But if I’m still around
We are still kings & queens of the underground
แล้วก็ถึงวันที่เจนเอ็กซ์ต้องถึงจุดจบ เมื่อทั้งบิลลีและโทนีเขารู้สึกเบื่อ บิลลีตัดสินใจออกมาเป็นศิลปินเดียว ส่วนโทนีไปทำวง ซิกซ์ซิกซ์สปุกนิก
1984 and “Rebel Yell” had the floor
All they said, was “more more more”
Well I touched you with
My “Eyes without A Face”
I was “Hot in the City”
Yes, I thought I was ace
อัลบั้มลำดับที่ 2 รีเบลเยลล์ (Rebel Yell) วางจำหน่ายปลายปีค.ศ.1983 มีเพลงฮิตหลายเพลง “รีเบล เยลล์” ขึ้นถึงอันดับ 6 ในอังกฤษ (“more more more” เป็นท่อนฮุคของเพลง “รีเยล เยลล์”)
เพลงฮิตอีกเพลง “อายส์ วิธเอาท์ อะ เฟซ”
เพลงฮิตอีกเพลง “ฮ็อต อิน เดอะ ซิตี้”
I didn’t know then
When I was in your front room
On MTV, baby
I was high as the moon
If you are here tonight
And you hear these sounds
We are still kings & queens of the underground
I don’t mean to be profound
But if I’m still around
We are still kings & queens of the underground
Ooh, ooh, golden years
Sold all my vinyl
It went up my arm
And I thought rock and roll
Couldn’t do me no harm
ขายแผ่นเสียงได้มากมาย แต่ใช้เงินหมดไปกับยาเสพติด
Now I’m rolling a joint
And I’m dressed in black
If we lose the music baby
We can never go back
And if you’re here tonight
And you hear these sounds
We are still kings & queens of the underground
I don’t mean to be profound
But if I’m still around
We are still kings & queens
Of the underground
Jonesy said, “Bill, don’t be profound,
If you are still a king of the underground”
If you hear my voice
And you dig these rebel sounds
Still kings & queens of the underground
Here tonight
I wanna dig these sounds
I’m still a king of the underground
If you hear my voice
Dig these rebel sounds
We’re still kings & queens of the underground
Ooh, ooh, golden years
บิลลี ไอดอลดังสุดชีดในช่วงทศวรรษ 80 พร้อมกับสตีฟ สตีเวนส์ มือกีตาร์คู่บุญ ที่เมื่อแยกไปแล้วก็ไม่มีใครประสบความสำเร็จเท่าเดิม บิลลี ไอดอลได้มาร์ก ยังเกอร์ สมิธมาเป็นมือกีตาร์ออกงาน ฌามด์ไลฟ์ (1990) ประคองตัวเองแต่พอลองทำตัวร่วมสมัยด้วยงานจุด ไซเบอร์พังก์ (1993) กลับล้มเหลวไม่เป็นท่า ทั้งที่แฟนเพลงน่าจะเดาทิศทางได้ว่าเขาชอบเสียงสังเคราะห์เพียงใด เพราะถ้าย้อนกลับไป วิปลาชสไมล์ (1986) บิลลีพยายามผสมเสียงสังเคราะห์กับเพลงร็อก ซึ่งนำไปสู่ความคิดที่แตกต่างจนสตีฟแยกตัวออกไป น่าเสียดาย ถ้าตอนนั้นเขาทำให้มันลงตัวได้อย่าง “โปสการ์ด ฟรอม เดอะ พาสท์”ในอัลบั้มนี้อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนในทางที่ดีของทั้งคู่
และชุดนี้ก็กลับมาโหยหาซาวน์ดยุครุ่งเรืองที่สุดของบิลลี ไอดอล