Kevin Carter the Photographer

Kevin Carter – เควิน คาร์เตอร์ บทเพลงจากอัลบั้ม ทุกสิ่งล้วนต้องจากไป (Everything Must Go, 1996) ของ มานิกสตรีตพรีชเชอร์ส

Manic Street Preachers: Kevin Carter

KEVIN CARTER Manic Street Preachers, CD 1
หน้าปกแผ่นซิงเกิล เควิน คาร์เตอร์
Released: 30 September 1996[1]
Length - 3:25 (edit)
Label: Epic
Composers: James Dean Bradfield, Nicky Wire, Sean Moore
Lyricist: Richey Edwards
Producer: Mike Hedges
Hi time magazine
Hi pulitzer prize 
Tribal scars in technicolor 
Bang bang club ak47 hour 

Kevin Carter 

Hi time magazine
Hi pulitzer prise
Vulture stalked 
white piped lie forever
Wasted your life in black and white 

Kevin Carter 
Kevin Carter 
Kevin Carter 

The elephant is so ugly he sleeps his head 
Machetes his bed
Kevin Carter kaffir lover forever 
Click, click, click, click, click 
Click, himself under 

Kevin Carter 
Kevin Carter 
Kevin Carter
เกร็ด 1 - Bang Bang Club - แบงแบงคลับ กลุ่มช่างภาพสี่คนในแอฟริกาใต้ คือ เควิน คาร์เตอร์ เกร็ก มาริโนวิช เคน อูสเตอร์บรอก และ เจา ซิลวา ทั้งสี่เริ่มทำงานด้วยกันในช่วงประมาณปีค.ศ. 1990 ผลงานด้านการถ่ายรูปเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้เป็นหลัก สลายตัวในปี 1994 เมื่อเคนเสียชีวิตในเหตุการณ์ปะทะกันของ “กลุ่มรักษาความสงบแห่งชาติ” (the National Peacekeeping Force) กับกลุ่มผู้สนับสนุน พรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา (African National Congress) ในโทโคซา เมื่อวันที่ 18 เมษายน 1995 ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนั้น เกร็กบาดเจ็บสาหัส แต่รอดชีวิตมาได้ และในเดือนกรกฎาคม เควินก็ปลิดชีวิตตัวเอง

เกร็ก มาริโนวิช เป็นช่างภาพคนแรกของกลุ่มที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปี 1990 จากภาพชาวซูลูโดนรุมแทงโดยกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา

เกร็ด 2 - AK47 เป็นชื่อปืนรุ่นหนึ่งออกแบบและผลิตโดยสหภาพโซเวียต 

เกร็ด 3 - white piped ยาเสพติดแบบผสมมีส่วนประกอบหลักเป็นกัญชา จะเผาเอาควันแล้วสูดผ่านท่อแก้ว...ซึ่งเป็นยาเสพติดประเภทที่ เควิน คาร์เตอร์ ใช้ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต

เกร็ด 4 - kaffir  คำสแลงใช้เรียกคนผิวดำเชิงเหยียดผิว ในเชิงเหยียดผิว Kaffir-boetie หรือ Kaffir lover ใช้เรียกคนผิวขาวที่เห็นใจในชะตากรรมของคนผิวดำ

เกร็ด5 The elephant is so ugly he sleeps his head ช้างเป็นสัญลักษณ์ของพรรคเสรีภาพอินคาธา ซึ่งทำสงครามกลางเมืองกับพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกาถึง 10 ปี

เควิน คาร์เตอร์

เควิน คาร์เตอร์ เป็นช่างภาพจากโยฮันเนสเบิร์ก อัฟริกาใต้ เคยเป็นทหารแต่เหตุการณ์ระเบิดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1983 ทำให้เขาออกมาเป็นช่างภาพกีฬา และเปลี่ยนมาเป็นช่างภาพเหตุการณ์บนท้องถนน ความรุนแรงในสังคม

ในฐานะช่างภาพ (ผิวขาว) ที่อยู่ในดินแดนของคนผิวดำที่โดนคนผิวขาวครอบครองบังคับ คงแตกต่างไปจากมุมมองของคนผิวเหลืองที่อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากที่ห่างไกล

เขา -เควิน คาร์เตอร์- ในฐานะมนุษย์ผิวขาวหนึ่งคน ที่ต้องเป็นพยานในความรุนแรง ความเกลียดชัง ความโลภ ความเห็นแก่ตัว 

เขาได้เห็นการลงทัณฑ์ที่รุนแรงจากศาลเตี้ยของกลุ่มคนผิวดำ ที่ตัดสินใจทำสิ่งรุนแรงโดยหวังใจว่ามันจะช่วยระงับความวุ่นวายจากคนที่สร้างความวุ่นวาย ด้วยถือภาษิตว่าหนามยอกต้องเอาหนามบ่ง

ณ นาทีนั้น คงมีไม่กี่คนที่ทะลึ่งเรียกร้องให้ฝูงม็อบหยุดการกระทำนั้น

การเป็นคนผิวขาวในชุมชนผิวดำ (township) ช่วงยุคการกีดกั้นสีผิวในแอฟริกาใต้ แค่เอาตัวเองให้รอดก็ลำบากแล้ว…

ยุคการกีดกั้นสีผิว (Apartheid) ในแอฟริกาใต้ อยู่ระหว่างปี 1948-1994 เป็นยุคที่แบ่งแยกคนผิวขาว ออกจากคนผิวสีอื่นทั้งที่คนผิวขาวเป็นคนส่วนน้อย แต่ดันมีอำนาจในมือล้นเหลือ พวกเขาแบ่งเขตอยู่อาศัยให้คนผิวขาว ผิวดำ ผิวเหลือง เชื้อสายอินเดีย ฯลฯ แยกกันต่างหาก  คนผิวดำถูกกีดกันด้านสิทธิต่าง ๆ ราวกับเป็นพลเมืองชั้นสอง หรือชั้นล่างสุด จนทำให้ชนผิวดำบางกลุ่ม แยกตัวออกไปปกครองตนเอง ที่ไม่ได้ออกไปร่วมกลุ่มกับพวกปกครองตนเอง ก็จะอยู่ใน “township” หรือ “homeland” ซึ่งเป็นเขตที่รัฐบาลพรรค National Party (กลุ่มผิวขาว) แบ่งเขตให้อยู่กันในนั้น ถ้าออกนอกเขตมาจะโดนจำกัดสิทธิ์ต่าง ๆ นานา

เรื่องเหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสีผิวอย่างรุนแรง การประท้วงต่อต้านด้วยความรุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้ง รัฐบาลปราบปรามด้วยความรุนแรงปานเดียวกัน

การตั้งศาลเตี้ยที่รุนแรงพบได้ง่ายขึ้น บ่อยขึ้น ภาพคนโดนเผานั่งยาง ผ่านเลนส์กล้องถ่ายรูปของเควินหลายต่อหลายภาพ

Necklaced หรือ Necklacing ถ้ากล่าวแบบไทยคือฆ่าเผานั่งยาง เพียงแต่ของแอฟริกาใต้ เอายางรถยนต์มาแขวนคอเหยื่อ/ทับเหยื่อ แล้วจุดไฟเผา

เควิน คาร์เตอร์ เล่าถึงภาพแรกเกี่ยวกับ Necklaced เอาไว้ว่า

ผมตกใจในสิ่งที่พวกเขากำลังทำ ผมตกใจในสิ่งที่ผมทำ แต่แล้วคนเริ่มพูดถึงภาพเหล่านั้น … แล้วผมก็รู้สึกว่าบางทีการกระทำของผมไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด มันคือพยานในความรุนแรงโหดร้ายโดยไม่จำเป็นนั้นเป็นสิ่งไม่ดี

เควิน และกลุ่มเพื่อนช่างภาพ ในนาม แบงแบงคลับ (Bang Bang Club) ตระเวนเก็บภาพความโหดร้ายรุนแรงที่เกิดขึ้นไปทั่วพื้นที่นั้น

สำหรับผู้สนใจเรื่องราวของเขา  เชิญอ่านที่บีบีซี

ในฐานะ “ช่างภาพข่าว” เขาคือผู้ถ่ายภาพสั่นสะเทือนความรู้สึกหลายต่อหลายภาพ และหนึ่งในภาพที่อาจจะทำให้หลายคนอึ้ง บางคนอ่อนไหวมากอาจถึงน้ำตาคลอ เป็นภาพที่เขาถ่ายในเมือง เอโยด รัฐจุนกาลี สาธารณรัฐซูดานใต้

ภาพนกแร้งกำลังเฝ้ามองดูเด็กน้อยร่างผอมโซที่กำลังทำท่าเหมือนจะไม่ไหว…

the vulture and the little girl

นกแร้งกับเด็กน้อย

ภาพนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เด็กสาวผู้ดิ้นรน” หรือ “อีแร้งและเด็กหญิงตัวน้อย” ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2536 เป็นรูปถ่ายของเด็กชายตัวจ้อยรูปร่างซูบผอมหนังติดกระดูก เดิมเชื่อกันว่าเด็กในภาพเป็นเพศหญิง จึงเรียกภาพว่า “เด็กสาวผู้ดิ้นรน” หรือ “อีแร้งและเด็กหญิงตัวน้อย” แต่ภาพหลังมีบันทึกจากสื่อมวลชนบางแหล่งว่า เด็กในรูปเป็นเพศชาย 

ไม่ไกลจากเด็กผู้น่าสงสารคนนั้น มีนกแร้งกำลังเฝ้ามอง เหมือนมัจจุราชกำลังรอวิญญาณพรากจากร่างกายกระจ้อยร่อยนั้น

ไม่มีใคร…(แม้แต่เควิน คาร์เตอร์) รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็กคนนั้น ภาพนี้เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ แสดงความแร้นแค้นที่กำลังเกิดขึ้นในแอฟริกาใต้แบบสะเทือนอารมณ์ผู้เห็นภาพอย่างไม่ต้องใช้ตัวอักษรใด ๆ ช่วย

ในปีถัดมา เควินได้รับรางวัลพูลิตเซอร์อันทรงเกียรติจากภาพนี้

พุทโธ ธัมโม สังโฆ

ผู้มีมนุษยธรรมล้ำลึกประณามคนถ่ายภาพ! ทำไมไม่ทำอะไรสักอย่าง ทำไมจึงเอาแต่เก็บภาพ

คำถาม…ถ้าเป็นท่าน ท่านจะทำอย่างไร?  

ขอเลี่ยงที่ตอบคำถามของตัวเอง….เพราะมันช่างไร้มนุษยธรรมเกินไป

บริบทรอบด้าน

เควิน คาร์เตอร์ และ เจา ซิลวา ได้รับคำเชิญจากองค์กรบรรเทาทุกข์สหประชาชาติ โอเปอเรชันไลฟ์ไลน์ซูดานให้เข้าไปทำข่าวเกี่ยวกับความอดอยากขั้นวิกฤติของประชาชนในทางตอนใต้ของประเทศซูดาน (ในเวลานั้นยังไม่แยกเป็นประเทศซูดานใต้) เจา ซิลวา ยินดีที่จะเดินทางทันทีที่ได้รับข้อเสนอ เพราะในเวลานั้นซูดานกำลังมีสงครามกลางเมือง และไม่อนุญาตให้คนต่างชาติเข้าประเทศ โดยรัฐบาลซูดานยอมให้นักช่าวและช่างภาพเข้าพื้นที่ได้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แต่ทุกย่างก้าวจะมีเจ้าหน้าที่รัฐควบคุมดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา

แต่ถึงกระนั้น การเดินทางก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยสถานการณ์สู้รบที่แปรผันดุเดือน เควินและเจา ต้องพักอยู่ในเมืองไนโรบี ประเทศเคนยา เพื่อรอว่าจะได้เดินทางเข้าไปตอนไหน เขามีโอกาสบินเข้าไปเมืองจูบาเป็นเวลา 1 วัน ก็ต้องกลับมาไนโรบีตามกำหนดเวลาที่รัฐบาลซูดานกำหนด และเมื่อทางสหประชาชาติได้รับไฟเขียวจากฝ่ายกบฎให้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจทางมนุษยธรรมในเมืองเอโยดได้ เจ้าหน้าที่ของ โอเปอเรชันไลฟ์ไลน์ซูดานก็เชิญเจาและเควินไปบินไปกับพวกเขาด้วย

เมื่อเครื่องบินถึงจุดหมาย การทำงานถ่ายภาพและเก็บรายงานข่าวก็เริ่มต้นทันทีในเวลาจำกัด เพราะทุกสิ่งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บังคับการกองกำลังกบฏที่ไม่อนุญาตให้พวกเขาอยู่ในพื้นที่นานนัก และได้ถ่ายภาพเก็บไว้มากมายในเวลาสั้น ๆ และหนึ่งในนั้นก็คือภาพเด็กน้อยกับนกแร้ง

ในนิตยสารไทม์แม็กกาซีน (กันยายน 1994, The Life and Death of Kevin Carter โดย สก็อตต์ แม็คลีออด) เล่าถึงที่มาของภาพนี้ว่า

เควิน คาร์เตอร์ เริ่มถ่ายรูปคนประสบทุพภิกขภัย และเดินหลบกลุ่มคนจำนวนมากที่กำลังอดตายต่อหน้าไปในพุ่มไม้ที่เปิดโล่ง เขาได้ยินเสียงคร่ำครวญแผ่วเบาและเห็นเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ พยายามจะไปที่ศูนย์แจกอาหาร ขณะที่เขาหมอบลงเพื่อถ่ายรูปเธอ แล้วก็มีนกแร้งโผล่มาให้เห็น เขาจึงระวังตัวไม่เข้าไปรบกวนนก เขาวางตำแหน่งตัวเองเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด หลังจากรอประมาณ 20 นาทีโดยหวังว่านกแร้งจะกางปีกออก แต่ไม่เป็นอย่างที่หวัง เมื่อถ่ายรูปเสร็จแล้ว เขาก็ไล่นกออกไปและมองดูเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ ที่ต่อสู้ดิ้นรนต่อไป จากนั้นเขานั่งใต้ต้นไม้ จุดบุหรี่ พูดคุยกับพระเจ้าและร้องไห้ 

“หลังจากนั้นเขาก็รู้สึกหดหู่” เจา ซิลวา เล่า “เขาเอาแต่พูดว่าอยากกอดลูกสาว”

แร้ง

สิ่งที่เควินทำได้คือไล่นกไม่ให้ยุ่งกับเด็กคนนั้น แต่เขาไล่โศกนาฏกรรมไม่ได้

ภาพนั้นโดนผู้คน (ผู้ทรงศีลธรรมในจิตใจ) ตั้งคำถาม ด่าทอ ถึงความไร้จิตใจของเขา 

ทำไมไม่ช่วยเด็ก?

เขาก็ไม่ต่างจากแร้งตัวนั้นที่เฝ้าเหยื่อ

และ ฯลฯ

ได้แต่ไถ่ถามตัวเองว่า ถ้าเป็นตัวเอง จะทำอะไร?

ก่อนจะตอบ ศึกษาเรื่องราวของเขาต่อ และได้พบข้อมูลว่า ณ ตอนนั้น เควินได้รับคำบอกเล่าเชิงสั่งอย่างเฉียบขาด ไม่ได้แตะต้องเหยื่อภาวะขาดแคลนอาหารทุกคน ทุกกรณี ด้วยเหตุผลด้านการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่รุนแรงถึงตาย เด็กในภาพคือหนึ่งในเด็กหลายคนที่พยายามคืบคลานไปยังศูนย์แจกอาหาร ซึ่ง ณ ที่นั้น มีเด็กที่อยู่ในสภาพเช่นเดียวกับเด็กคนนี้มากมาย

และยังต้องบันทึกไว้ว่า ณ ศูนย์แจกอาหารแห่งนี้ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 20 คนต่อชั่วโมง! 

เควิน คาร์เตอร์ ช่วยอะไรเด็กคนนี้ได้? ถ้าเป็นท่านจะช่วยอะไรเด็กคนนี้ได้ในภาวะนั้น? นอกจากรู้สึกผิดที่ช่วยอะไรไม่ได้?

ภาพนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ในปี 1994 และสองเดือนหลังจากนั้นเขาก็ฆ่าตัวตาย….

ช่วงสุดท้ายของชีวิต เควิน คาร์เตอร์ นำตัวเองดิ่งไปสู่โลกของยาเสพติด เพื่อให้ลืมความโหดร้ายที่เขาพบเจอในแต่ละวัน 

ในข้อความที่เขาทิ้งไว้เมื่อตัดสินใจฆ่าตัวตาย มีดังนี้

ผมรู้สึกหดหู่ … ไม่มีโทรศัพท์ … เงินจ่ายเช่า … เงินเลี้ยงดูบุตร … เงินจ่ายหนี้ … เงิน !!! … ผมถูกหลอกหลอนโดยความทรงจำที่แจ่มชัดถึงการฆ่า ซากศพ ความโกรธและความเจ็บปวด … เด็กที่หิวโหยหรือบาดเจ็บ คนบ้าที่มีความสุขเมื่อได้เหนี่ยวไกปืน มักเป็นตำรวจ ฆาตกร เพชฌฆาต… ผมจะไปอยู่กับเคน ถ้าผมโชคดี

เควิน คาร์เตอร์

(เคน ในข้อความนี้คือ เคน อูสเตอร์บรอก เพื่อนร่วมกลุ่มแบงแบงคลับผู้เสียชีวิตไปก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือนจากเหตุจลาจลในโทโคซา)

เมแกน  บุตรสาวของ เควิน คาร์เตอร์ ให้สัมภาษณ์ว่า “I see my dad as the suffering child. And the rest of the world is the vulture.”

เธออ้างอิงถึงภาพที่ทำให้ เควิน คาร์เตอร์ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ์

และบอกว่าเรา เป็นแร้ง…ที่พร้อมจะทึ้งซากศพ…

เควิน คาร์เตอร์ เสียชีวิตในวันที่  27 กรกฎาคม 1994 

Leave a Reply

Scroll to top
%d bloggers like this: